
พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญของคนไทย พระพุทธชินราช องค์ที่ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกนั้นเป็นที่ รู้กันว่ามีความสำคัญมากองค์หนึ่ง และถูกยกย่องว่า “งาม” ที่สุดในบรรดาพระพุทธรูปทั้งหลายในเมืองไทย พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารใหญ่ด้านทิศตะวันตกของ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเป็นด้านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระพุทธชินราช มีหน้าตักกว้าง ๕ ศอก คืบ ๕ นิ้ว ผันพระพักตร์ไปทางแม่น้ำ
ประวัติการสร้างพระพุทธชินราช ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในปีใด แต่ก็มีการสันนิษฐานโดยอ้างอิงตามพงศาวดารเหนือคาดว่า ตำนานพระพุทธชินราช น่าจะสร้างพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไท) จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะ ลงรักปิดทองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการบูรณะครั้งล่าสุดในรัชกาลที่ 9 พระพุทธชินราช นี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขโนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระ มียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้ว ประวัติพระพุทธชินราช ที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่าหนึ่ง พระพุทธชินราช ประดิษฐานในวิหารลักษณะเก้าห้อง ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้องค์พระสวยงามบริบูรณ์อย่างในปัจจุบัน และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยให้ความเคารพและศรัทธาต่อองค์ พระพุทธชินราช มาอย่างต่อเนื่องทุกๆพระองค์
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงเคารพนับถือสักการะบูชา มาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังมีรายพระนามที่ปรากฎในพงศาวดาร คือ สมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร สมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าบรมโกฐ พระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี องค์ต่อ ๆ มาเกือบทุกพระองค์…
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสรรเสริญไว้ว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา ทั้ง ๓ พระองค์ เป็นพระพุทธปฏิมากรดีล้ำเลิศ ประกอบไปด้วยพุทธลักษณะอันประเสริฐ มีสิริอันเทพยดาหากอภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่สักการะบูชานับถือแต่โบราณ
พระพุทธชินราชนั้นได้รับการบูรณะรวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อสมัยพระเอกาทศรถ ซึ่งพระองค์ทรงให้ช่างปิดทององค์พระทั้งองค์ ครั้งที่สองในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 โดยทรงลอกทองเดิมออกแล้วทรงโปรดให้ลงรักปิดทองทั่วทั้งองค์ ครั้งที่สามคือในสมัยรัชกาลที่ 9 รัชกาลปัจจุบัน ทรงโปรดให้ลอกทองเดิมออก แล้วลงรักปิดใหม่ทั่วทั้งองค์ โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 6 เดือน นับจากวันที่ทำพิธีบวงสรวงเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2547
คาถาบูชาพระพุทธชินราช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา ชินะราชาพุทธรูปัง สิริธัมมะติปิ
ตะกะราเชนะ กะตัง นะมามีหัง พุทธธังอาราชธนานัง ธัมมังอาราชธนานัง
สังฆังอาราชธนานัง ชินะราชาพุทธธะรูปัง
อาราชธนานัง พุทธธังลาภมานะชาลีติ ธัมมังลาภมานะชาลีติ สังฆังลาภมานะชาลีติ
อุอะมะนะโมพุทธธายะ พามานะอุกะ สะนะถุประสิทธิเม
และอีกคาถาหนึ่งซึ่งเขียนใว้ในโบสถ์หลวงพ่อพระพุทธชินราช
อิเมหิ นา นา สักกาเลหิ อภิปูชิเตหิ ทีกายุโกโหมิ
อะโลโคสุคิโต สิทธิกัจจัง สิทธิกรรมมังปิยัง มะมะ
ประสิทธิลาโภชะโยโหตุ สัพพัทธา พุทธะชินะราชา
อภิปะเลตุมัง นะโมพุทธายะ