มีนาคม 29, 2024

เมืองฉะดอทคอม>MUANGCHA.COM

โน่นนิดนี่หน่อยค่อยเป็นค่อยไป

ที่มาของจังหวัดฉะเชิงเทรา

จังหวัด ฉะเชิงเทราหรือที่รู้จักจักกันในชื่อ “แปดริ้ว” เคยเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนในสมัยอิทธิพลของ อาณาจักรลพบุรี (ขอม) เมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณอาจจะเรียกชื่อแม่น้ำบางปะกงว่า คลองลึกหรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็นแต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำ เป็นภาษาเขมรว่า “สตึงเตรง หรือ ฉทรึงเทรา” ซึ่งแปลว่า คลองลึก นั่นเอง ครั้นเรียกกันไปนาน ๆ เสียงเลยเพี้ยนกลายเป็น “ฉะเชิงเทรา” แต่ก็มีความเห็นอื่นที่แตกต่างออกไปว่าชื่อ “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนมาจาก “แสงเชรา” หรือ “แซงเซา” หรือ “แสงเซา” อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จไปตีได้ตามที่พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้ มากกว่า


ส่วนความเป็นมาของชื่อ “แปดริ้ว” มีความเชื่อต่างๆตามที่เล่าขานกันมา บ้างก็ว่าเพราะขนาดอันใหญ่โตของปลาช่อนที่ชุกชุมในท้องถิ่น เมื่อจับมาได้แล้วนำมาแล่เพื่อจะตากแห้ง จะต้องแล่ถึงแปดริ้วเพราะความใหญ่ของตัวปลา(ริ้ว ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง เส้นลายหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นรอย เป็นทางๆ เป็นแถว หรือเป็นแนวยาวไป) บ้างก็ว่ามาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง “พระรถเมรี” เล่าว่ายักษ์ฆ่านางสิบสองแล้วชำแหละศพออกเป็นชิ้น ๆ รวมแปดริ้ว ทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาดสำหรับข้อสันนิษฐานการตั้งเมืองฉะเชิงเทรา ปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในฐานะหัวเมืองชั้นในหรือเมืองจัตวา  ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) แต่สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏชัดเจนในสมัยพระนเรศวรมหาราชที่ใช้เมืองฉะเชิงเทราเป็นที่รวบรวมไพร่พล  เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๖ ด้วยชัยภูมิของเมืองที่เหมาะแก่การทำสงครามกองโจร ทำให้ฉะเชิงเทราเป็นเมืองหน้าด่านที่ใช้ป้องกันศัตรู ปกป้องเมืองหลวง จวบจนสู่การปกครองระบบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.๒๔๗๕ และในปี พ.ศ.๒๔๗๖ มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาค คำว่าเมืองเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ครองเมือง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งเป็นปีที่มีการตั้งภาคครั้งสุดท้ายของไทย ฉะเชิงเทราได้รับเลือกเป็นสถานที่ภาคมีเขตความรับผิดชอบ ๘ จังหวัด  ซึ่งนับเป็นบทบาทที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การปกครองของจังหวัดฉะเชิงเทรา

“ฉะเชิงเทรา” กับ “แปดริ้ว”
“ฉะเชิงเทรา” กับ “แปดริ้ว” เป็นชื่อที่เรียกขานเมืองนี้ “ฉะเชิงเทรา” เป็นภาษาราชการ ส่วน “แปดริ้ว” เป็นภาษาท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้เรียกกันมาช้านาน ซึ่งทั้งสองชื่อต่างก็มีเรื่องเล่าขานถึงความเป็นมาอย่างหลากหลายและมีสีสัน
ชื่อ “ฉะเชิงเทรา” มีต้นเค้าหนึ่งมาจากหนังสือชุมนุมพระนิพนธ์ภาคปกิณกะ ภาค 1 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีความพาดพิงถึงเมืองฉะเชิงเทราว่า “…ชื่อบ้านเมืองเหล่านี้เป็นชื่อไทยบ้าง ชื่อเขมรบ้าง เป็นสองชื่อทั้งไทยทั้งเขมรบ้าง อย่างเมืองฉะเชิงเทราเป็นชื่อเขมร แปดริ้วเป็นชื่อไทย…” นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านจึงมีความเห็นว่า “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า “สตึงเตรง” หรือ “ฉ่ทรึงเทรา” ซึ่งแปลว่า “คลองลึก” ความเห็นนี้คงอาศัยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ด้วย เพราะเมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เมื่อครั้งที่ขอมยังมีอำนาจปกครองแผ่นดินไทยอยู่นั้น เมืองนี้เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อน เป็นไปได้ว่าชาวเมืองในสมัยโบราณอาจจะเรียกแม่น้ำบางปะกงว่า “คลองลึก” หรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น และด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำเป็นภาษาเขมรว่า “สตรึงเตรง” หรือ “ฉ่ทรึงเทรา” ครั้งเรียกกันไปนานๆ เสียงก็เพี้ยนกลายเป็น “ฉะเชิงเทรา” เมืองที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำก็พลอยได้ชื่อว่า “ฉะเชิงเทรา” ไปด้วย
อย่างไร ก็ตาม คนจำนวนมากมักมีความเห็นต่างออกไปว่า ชื่อ “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนจาก “แสงเชรา” หรือ “แซงเซา” หรือ “แสงเซา” อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จไปตีได้ ตามที่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้มากกว่า เพราะการออกเสียงใกล้เคียงกันมาก ยิ่งเมื่อประกอบความคิดที่ว่า เมืองตั้งขึ้นในตอนต้นกรุงศรีอยุธยา อันเป็นเวลาที่ชื่อเสียงเรียงนามต่างๆ น่าจะเป็นคำไทยหมดแล้ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน อย่างนนทบุรี นครไชยศรีและสาครบุรี ซึ่งล้วนแต่มีเชื้อสายไทยอิทธิพลอินเดีย ยิ่งทำให้น่าเชื่อว่าเมืองนี้ไม่ใช่คำเขมร หากแต่เป็นคำไทยที่เพี้ยนมาจากชื่อเมืองในพงศาวดารนี่เอง

ส่วน ความเป็นมาของชื่อ “แปดริ้ว” ก็มีตำนานเล่าขานกันมาหลายกระแสไม่แพ้กัน บ้างก็ว่าเมืองนี้แต่ไหนแต่ไรมาเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในลำน้ำอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาช่อนซึ่งเป็นปลาน้ำจืดรสชาติดีนั้นมีชุกชุมและขนาดใหญ่กว่าในท้องถิ่นอื่นๆ และเมื่อนำมาแล่เนื้อทำปลาตากแห้ง จะแล่เพียงสี่ริ้วหรือห้าริ้วตามปกติไม่ได้ ต้องแล่ออกถึง “แปดริ้ว” เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “แปดริ้ว” ตามขนาดใหญ่โตของปลาช่อนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมือง
นอกจากเรื่องปากท้องซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และมีอิทธิพลต่อความคิดของชาว บ้านอย่างมากแล้ว นิทานพื้นบ้านซึ่งมีเนื้อเรื่องค่อนข้างผาดโผนก็มีส่วนสร้างความเชื่อถือใน เรื่องชื่อเมืองได้เหมือนกัน คนในท้องถิ่นพนมสารคามเล่าถึงเรื่อง “พระรถ-เมรี” ซึ่งเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกว่า ยักษ์ได้ฆ่านางสิบสองแล้วลากศพไปยังท่าน้ำ ในบริเวณที่เป็นคลอง“ท่าลาด” แล้วชำแหละศพออกเป็นริ้วๆ รวมแปดริ้ว แล้วทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาด ริ้วเนื้อริ้วหนังของนางสิบสองลอยมาออกยังแม่น้ำบางปะกง ไปจนถึงฉะเชิงเทรา เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “แปดริ้ว”

ฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่กว่า 5,000 ตารางกิโลเมตรหรือกว่า 3 ล้านไร่ กว้างใหญ่กว่าเมืองอื่นใดในแผ่นดินภาคตะวันออกของไทยนอกจากจันทบุรี อาณาเขตของจังหวัดแผ่ไปจนจรดนครนายกและปราจีนบุรีทางทิศเหนือ ชลบุรีและจันทบุรีทางทิศใต้ ปราจีนบุรีทางทิศตะวันออก และกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และปทุมธานีทางทิศตะวันตก
พื้นที่ทั่วไปของฉะเชิงเทราเป็นที่ราบลุ่ม เว้นแต่เพียงบางส่วนที่เป็นที่ราบลูกฟูก ที่ดอนและภูเขาเตี้ยๆ พื้นที่ราบนั้นสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนบริเวณเทือกเขาปกคลุมด้วยป่าไม้อันอุดมไปด้วยไม้มีค่าและสัตว์ป่าหายาก ทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แม่น้ำบางปะกง เส้นเลือดใหญ่ของฉะเชิงเทราก็ถือกำเนิดจากเทือกเขาเหล่านี้ แล้วไหลลงสู่เบื้องล่างเพื่อหล่อเลี้ยงให้ความสมบูรณ์กับผืนดินก่อนลงสู่ ทะเลที่อ่าวไทย
สายน้ำบางปะกงอันคดเคี้ยวแบ่งพื้นดินออกเป็นสองส่วน ฟากหนึ่งคือความเป็นเมืองอันทันสมัย อาคาร บ้านเรือนและโรงงานกำลังผุดขึ้นตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ส่วนอีกฟากหนึ่งเขียวชอุ่มไปด้วยป่าและพื้นที่เกษตรอันดารดาษด้วยนากุ้ง สวนผลไม้และนาข้าวออกรวงสีทองอร่าม ตลอดสองฝั่งน้ำ ป่าจากอันเป็นพืชดั้งเดิมคู่ลำน้ำบางปะกงยังคงหนาทึบ ใบสีเขียวเข้มเอนลู่ไหวไปมาเสียดสีกันยามต้องสายลม
ฉะเชิงเทราเป็นเมืองใกล้ทะเล มีส่วนที่ติดกับชายฝั่งยาวถึง 12 กิโลเมตรที่อำเภอบางปะกง ตลอดแนวชายฝั่งคือป่าชายเลนที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ พื้นที่ติดทะเลทำให้เมืองนี้ได้รับอิทธิพลจากลมบกและลมทะเลอย่างเต็มที่ และด้วยลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ ฉะเชิงเทราจึงชุ่มชื้นด้วยฝนที่ตกต้องตามฤดูกาล อันนำพาพืชพรรณธัญญาหารให้ผลิดอกออกผลสะพรั่งตลอดปี

ในอดีต
เมืองฉะเชิงเทราถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด ไม่มีผู้ยืนยันได้แน่ชัด แต่จากที่ตั้งของเมือง นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงแห่งนี้ เมื่อหลายพันปีก่อน น่าจะเป็นแหล่งอารยะธรรมสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับที่ราบลุ่มแม่น้ำอื่นๆ ซึ่งเป็นแหล่งพักพิงอาศัยของผู้คนมาแต่โบราณ และเมื่อมีการขุดค้นพบโครงกระดูกและเครื่องประดับมีค่าอายุกว่า 5,000 ปี ณ แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในเขตการปกครองของเมืองฉะเชิงเทรามาก่อน จึงเกิดเป็นหลักฐานว่า ผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ในครั้งนั้น น่าจะเป็นมนุษย์โบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งหลายก็น่าจะตั้งรกรากอยู่ ใกล้เคียงกันตามชายฝั่งทะเลแถบนี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่า เจ้าของอารยะธรรมที่โคกพนมดีอาจจะเป็นบรรพชนของผู้สร้างอารยะธรรมยุคสำริด อันเลื่องชื่อที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีก็ได้

เมื่อล่วงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ แหล่งอารยะธรรมลุ่มแม่น้ำบางปะกงดูจะมีหลักฐานชัดเจนขึ้น แต่บ้านเมืองในยุคต้นพุทธกาลนี้ก็ยังมิได้รวมเป็นลักษณะ “อาณาจักร” ที่มีราชธานี ณ ที่ใดที่หนึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครอง คงเป็นเพียงการรวมกลุ่มขึ้นเป็น “แคว้น” หรือ “นครรัฐ” เล็กๆ กระนั้น บทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว หากพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์ ชุมชนศูนย์กลางของอารยะธรรมกลุ่มแม่น้ำบางปะกงนั้น น่าจะเป็นทางออกสู่ทะเลซึ่งสามารถติดต่อซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมกับดินแดนโพ้นทะเล และในขณะเดียวกัน ก็สามารถนำพาสินค้าและวัฒนธรรมเหล่านั้นไปยังดินแดนภายในแผ่นดินใหญ่ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและที่ราบต่ำในกัมพูชา อันถือได้ว่าเป็นบ่อเกิดแห่งอารยะธรรมสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างสะดวก หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบได้ในบริเวณนั้น ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมหรือประติมากรรม ล้วนแสดงว่าชุมชนแห่งนี้มีอายุต่อเนื่องยืนยาวหลายพันปี และมีมนุษย์อาศัยสืบเนื่องมาไม่ขาดสายตั้งแต่ยุคบรรพกาล

อย่างไรก็ตาม ชื่อ “ฉะเชิงเทรา” ได้มาปรากฏอย่างเป็นเรื่องเป็นราวครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ. 1991-2031) ฉะเชิงเทราได้รับบทบาทสำคัญในการปกครอง ในฐานะหัวเมืองชั้นในหรือเมืองจัตวาที่อยู่ใกล้ราชธานีของประเทศ เช่นเดียวกับราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม นครไชยศรี นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี สมุทรสาคร ชลบุรี ปราจีนบุรี และนครนายก
ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา บทบาทของ “เมือง” แห่งนี้ในฐานะเพื่อนร่วมทุกข์สุขของพี่น้องชาวไทยเริ่มเห็นชัดเจนเป็น รูปธรรมครั้งแรก ด้วยเหตุที่ฉะเชิงเทราตั้งอยู่ใกล้ชายแดนเขมร แต่ไหนแต่ไรมา เขมรมักถือโอกาสซ้ำเติมไทยโดยยกทัพมากวาดต้อนผู้คนอยู่เนืองๆ ในเวลาที่ไทยเพลี่ยงพล้ำในการศึกกับพม่า ในปี พ.ศ. 2126 สมเด็จพระนเรศวนมหาราชจึงได้ทรงเกณฑ์ผู้คนนับหมื่น เสด็จกรีธาทัพไปตีเมืองละแวกเพื่อแก้แค้นเขมร การศึกครั้งนั้นเป็นครั้งใหญ่ที่มีการวางแผนรบอย่างรอบครอบ และฉะเชิงเทราได้กลายเป็นขุมกำลังและแหล่งเสบียงสำคัญที่มีหน้าที่แจกจ่าย เสบียงให้แก่กองทัพหลวง
ไม่ถึงสองร้อยปีให้หลัง ฉะเชิงเทราที่มีบทบาททางการเมืองอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกครั้ง หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นปีที่กรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายแก่พม่า พระยากำแพงเพชรผู้ซึ่งในภายหลังได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ชุมนุมพลพันเศษ เดินทัพจากกรุงศรีอยุธยาที่ล่มแล้ว หมายจะไปซ่องสุมกำลังที่เมืองจันทบุรีเพื่อกอบกู้ชาติไทย ทัพไทยถูกทหารพม่าติดตามมาดักที่บริเวณปากน้ำเจ้าโล้(โจ้โล้)ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองฉะเชิงเทราในขณะนั้นจึงเกิดปะทะกันขึ้น แต่ด้วยชัยภูมิของเมืองอันเหมาะแก่การทำสงครามกองโจรพระยากำแพงเพชรจึงสามารถตีทัพพม่าแตกพ่ายไปและเดินทางต่อไปได้จนถึงที่หมาย และภายหลังจากที่ฝึกปรือทหารจนมีกำลังกล้าแข็งแล้วก็ได้นำกำลังโดยใช้ฉะเชิงเทราเป็นเส้นทางหนึ่งในการเดินทัพเข้าโจมตีพม่าที่เมืองธนบุรี แล้วขึ้นไปตีค่ายโพธิ์สามต้นซึ่งเป็นค่ายใหญ่ของพม่าที่อยุธยา ทำการกอบกู้เอกราชให้กับชาติไทยได้เป็นผลสำเร็จ

โฉมหน้าใหม่ของเมืองนี้เริ่มชัดเจนขึ้นในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ โดนเฉพาะอย่างยิ่งในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นเวลาที่ฉะเชิงเทราได้รับบทบาทในฐานะ “เมืองหน้าด่าน” ที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อญวนเกิดฮึกเหิม หมายจะแย่งชิงอำนาจในการปกครองเขมรและสถาปนากษัตริย์เขมรจากไทย จนเกิดเหตุลุกลามกลายเป็นสงคราม “อานามสยามยุทธ” ระหว่างไทยกับญวนดำเนินไปได้ราว 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2377 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ว่าการเมืองฉะเชิงเทราจากเดิมซึ่งตั้งอยู่ที่ปากน้ำเจ้าโล้ มาสร้างกำแพงเมืองใหม่ที่บ้านท่าไข่ แขวงเมืองฉะเชิงเทรา ชิดกับลำน้ำบางปะกง ซึ่งเป็นเสมือนกำแพงธรรมชาติที่ป้องกันศัตรูได้อย่างดี หมายให้ช่วยรักษาเมืองหลวงให้พ้นภัยจากข้าศึก กำแพงนี้นอกจากจะเป็นปราการในการปกป้องเมืองหลวงแล้ว ยังกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐแห่งใหม่และเป็นเครื่องแสดงอาณาเขตของเมือง ด้วย ต่อมาเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ภายในกำแพง ความเป็น “เมือง” ที่มีอาณาเขตแน่นอนของฉะเชิงเทราจึงได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

เข้าสู่ยุคปัจจุบัน
“สมัยใหม่” ของฉะเชิงเทราเริ่มต้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่ง ราชวงศ์จักรี เมื่อไทยได้เปิดรับอารยะธรรมตะวันตกและเริ่มผันชีวิตความเป็นอยู่รับสถานการณ์โลก มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมนานับการเพื่อให้นานาชาติเห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีอารยะธรรมประเทศหนึ่ง เมื่อลุถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยิ่งกว้างขวาง กิจการภายในของไทยถูกคุกคามและแทรกแซง เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ไทยพบกับภัยทางการเมืองในรูปแบบใหม่ที่รุนแรง แแต่ด้วยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้หันมาใช้นโยบาย “การเมือง” นำหน้า “การทหาร” และในขณะเดียวกันก็เร่งพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัย ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกด้าน นำการปกครองระบบ “เทศาภิบาล” มาใช้โดยรวบรวมเมืองต่างๆ ขึ้นเป็น “มณฑล” โดยยึดเอาลำน้ำเป็นหลัก ฉะเชิงเทราก็ได้ร่วมมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าครั้งยิ่งใหญ่นี้ด้วย โดยให้รวมเข้าเป็นหนึ่งในมณฑลปราจีนในปี พ.ศ. 2435 ร่วมกับเมืองปราจีนบุรี นครนายก พนมสารคาม มีลำน้ำบางปะกงเป็นลำน้ำสายหลักและมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นครั้งแรก และเมื่อมีการขยายอาณาเขตโดยรวมเอาเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุงเพิ่มเข้าไปด้วย ฉะเชิงเทราจึงกลายเป็นที่ว่าการมณฑลแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา “มณฑลปราจีน” ในครั้งนั้นคือสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติในยุคของการล่า อาณานิคมอย่างแท้จริง ฉะเชิงเทราซึ่งเป็นที่ว่าการมณฑล ก็ได้กลายเป็นต้นฉบับของการปกครองที่ก้าวหน้าและมั่นคง ให้มณฑลอื่นๆ ได้ถือเป็นแบบอย่าง
จวบจนย่างเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 เมื่อการปกครองระบบ “เทศาภิบาล” ยุติลงและเริ่มมีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วย “ระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476” อำนาจปกครองจึงเริ่มกระจายสู่ส่วนภูมิภาค คำว่า “เมือง” ได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัด” มี “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็นผู้ดูแลกิจการของเมือง มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศ และในปี พ.ศ. 2495 ซึ่งเป็นปีที่มีการตั้งภาคครั้งสุดท้ายของไทย ฉะเชิงเทราก็ได้รับเลือกเป็นสถานที่ตั้งภาค มีเขตความรับผิดชอบ 8 จังหวัด นับเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของเมืองนี้

CHACHOENGSAO AND PAD-REW
What the city is called and why is an isue of extensive interest and colourful vista. “Chachoengsao” and “pad-rew” are the two titles denoting the identity of this city. The former is an official name and the latter is a colloquial one long know and used in the locality. Adopting variety of interpretations, both swirl back to picturesque legendary founts.
An account of Chachoengsao ’s origins is discerned in King Rama Iv’s Collection of Literary Works, of which a part sataes “…Some of the city names are thai, other are Khmer; roots: Chachoengsao is Khmer; and Pad-Rew is Thai…” An assumption is made accordingly that “Chachoengsao” stems from Khmerian “Satrungtreng” or “Chatrungtrao” meaning “deep canel”. The notion is conceivably based on geographical grounds. The city, then under Khmerian predomination, is sited along Bangkapong River banks. In those days, calling a river “deep canel” or “big canel” is qoite understandable. And with political influence, the name of the river might follow Khmerian “Satungtreng” or “Chatrungtrao”, be later deviated in to “Chachoengsao”, and gave the title to the city.
However, a different opinion is much stronger. “Chachoengsao”, in view the most, is not a Khmer word but a Thai, deviating from “Strengshrao” or “Saengsao”, the name of the city vanquished by Somdej Phra Borommarachathirat, a King of the Ayudhya Epoch, as cited in the Royal Chronicle by historian Luang Prasert. The argument is based on the fact that the Ayudhya Period is the time when names and titles were all in Thai. Event the names of contemporary cities like Nonthaburi, Nakhon Chaisri and Sakhornburi are of Thai origin with Indian influence. The similarity in articulation between “Chachoengsao” and “Saengshrao” is also conspicuous.

The origins of “Pad-rew” are as colourful as those of “Chachoengsao”. One source tells that the name is invented after “Pla Chon”, the snake-head fish familiar in the Bangpakong River, whose abundance breeds more numerous and more sizable fish than any other streams. Drying such a big one needs carving of 8 strips, instead of typical 4 or 5. The city thus owes the name “pad-rew” to this 8-strip carving.
A more legendary source of Pad-rew has religious influences. “Phararot-Mari”, an ancient thrilling tale from Panyasa Chataka tells about the demon, the antagonist, who murdered the 12 concubines, cut them into 8 pieces and set the corpses adrift at Khlong “Tha Lad”. The flesh along the Bangpakong River to Chachoengsao, where the name “Pad-rew” is adopted.

Land
Chachoengsao stretches beyond 5,000 square kilometers or 3 million rai, engrossing the second vastest area in the East next to Chanthaburi. It reaches over Nakhon Nayok and Prachinburi in the North, Chonburi and Chanthaburi in the South, Prachinburi in the East and Bangkok Metropolis, Samutprakarn and Prathumthani in the West.
Chachoengsao terrain is predominantly wet plains, with corrugated plains, highlands and low hills alternately recurring. The flat ground is bounteous for cultivation, and along the ridges are priceless forests where abide rare wild animals and founts of streams. The Bangpakong River, the vein of Chachoengsao, begins there, whirling through and enriching the soil before moving seaward into the Gulf of Thailand.
Chachoengsao is beautiful, with the glimmering stream meandering through and bisecting its ground. Given a bird ’s eye view, one has a charmingly distinctive panorama, of sprouting urbanized buildings and vast green domain of woodlands and plantations, adorned by islets of leafy orchards, golden rice fields and silver blocks of shrimp farms. On both banks of the river, “Chak” (atap palm) thickets swing in the breeze, their dark green leaves rubbing against one another.
Following the river, Chachoengsao yields to the sea at Amphoe Bangpakong, creating a coast of some 12 kilometers, embraced by rich mangrove forests. Abutted to the sea, the city is influenced by land and sea breezes, and moistened by northeast and southwest monsoons, which carry with them seasonal rainfall and fruitfulness.

There is no definite assertion on Chachoengsao ’s birth. Only archaeological assumption are made that, thousands of years ago, Bangpakong Riverfront, like many other river basins worldwide, was a center of ancient civilization and habitat to pre-historic populace. 5,000-year-old skeletons and ornaments found at Khok Phanomdee, now a village in Amphoe Phanat Nikhom, Chonburi, and once a dominion under Chachoengsao ’s sovereignty, are the first testimony advocative to the notion. According to geographers, during 7,000-2,000 B.C. the coastline where pre-historic communities abode was much father inland. Thus, the assumption that Bangpakong people were forefathers of the renowned Ban Chiang men is sensible.

Evidences on Bangpakong civilization became more prominent in the historical age. Early in the Buddhist Era, no kingdom with a capital city was yet born. The government was in form of small “regions” or “city states”. Nonetheless, its economic character began to take root. Geographically, the nucleus of Bangpakong civilization was simultaneously a trade outlet to overseas nations and gateway of goods to the mainland, including the Northeastern Plateau and Cambodian Great Plain, regarded as a bulb of the primeval civilization in Southeast Asia. Archaeological testimonies discovered there, paintings and sculptures alike, prove an incessant tide of human settlements throughout the time.

However, the name “Chachoengsao” was first officially traced in the Ayudhya Period, during the reign of King Boroma Trilolokanata (1991-2031 B.E.) Chachoengsao then adopted an administrative role of a principal town adjoining the capital city like Ratchaburi, Petchaburi, Kanchanaburi, Samutsongkhram, Nakhon Chaisri, Nakhon Sawan, Chainat, Suphanburi, samutsakorn, Chonburi Prachinburi and Nakhon Nayok.
It was during the reign of King Naresuan the Great that the integrity of Chachoengsao as a “city” sharing the fellow crountrymen ’s joy and grief took shape. Adjacent to the Cambodian border, Siam was invariably vulnerable to the Khmer’s offence and plunder, especially when being raided by the Burmese. To avenge his motherland, King Naresuan the Great, with a troop of over 10,000, made an attack on lawaek, Cambodia, in 2136 B.E.. It was a big, well-planned battle in which Chachoengsao was a military base, transferring supplies and provisions to the chief legion.
2310 B.E., the year of the Fall of Ayudhya, records another political stamina of Chachoengsao in Thai history. Fleeing the collapsing city, Phya Kampaengpetch, later crowned as King Taksin the Great, led his 1,000 followers to Chanthaburi with an aim to bolster the force and take a regain. At Chao Lo Rivermouth, his legion was tracked and attacked by the Burmese. Fortunately, with the locale auspicious for ambuscade, a counterattack was successful. Later, using Chachoengsao as a route Phya Kamphaengpetch took a triumphant journey, raiding the Burmese at Thonburi Camp and their headquarter at Po Sarm Thon Camp, and made a victorious recapture.

A new countenance of Chachoengsao was perceptible early in Rattanakosin Period. During the reign of King Rama III, the city turned out to be a major “frontier town” of the nation. Striving over the governing authority of Cambodia, Siam and annam waged a 14-year war (2376-2390 B.E.). In 2377 B.E., the “administration center” of Chachoengsao was relocated from Chao Lo Rivermouth to Ban Tha Khai. There a city wall and fortress was built, abutting the Bangpakong River, as a fortification against the foes. As a garrison, the Wall shielded the capital city, and meanwhile, within it a new “municipality” was formed. It was the first time in Chachoengsao history that a precise boundary of the city was marked.

The “New Age” of Chachoengsao commenced in the reign of King Rama IV, when Thailand was enthralled by transcontinental civilization. Traditional lifestyles were modified to suit western culture, and societal and cultural changes were made to display Thai erudition. However, the reign of King Rama V was when the European influences in Southeast Asia were most violent and expansive. It was a new form of jeopardy Thailand had to encounter.
Upon the King ’s contemplation, “political” policies replaced “military” ones. Ways of life were modernized and Quality of life improved. “Dhesabhibarn” governmental pattern was adopted. Using rivers as borderlines, “Muangs” (cities) were assembled into “Monthons” (regions). Chachoengsao also took part in this reform. Along with Prachinburi, Nakhon Nayok and Phanomsarakham, Chachoengsao was amassed into “Monthon Prachin” in 2435 B.E., having the Bangpakong River as the landmark. Systematic city planning was first achieved here. “Monthon Prachin”, later expanded to cover also Phanat Nikhom, Chonburi and Bang Lamung, issymbolic of the nation ’s strive for independence in the age of colonialism, and Chachoengsao, becoming the Monthon ’s administration center, is the prototype of an advanced government pattern to be imitated by other regions.
Constitutional Monarchy was embraced in Thailand in 2475 B.E.. Here ended the former “Dhesabhibarn”, and began the “Nation Administration Act: 2476 B.E.”, inciting distribution of government powers regionally. “Muang Chachoengsao” was change into “Changwat”, having a “Governor” for its chief, and election of representatives was induced in compliance with the Constitution. Chachoengsao took a quick political pace in 2495 B.E., which is the last year of region establishment, when chosen “center” of the Central Region, having an authoritative jurisdiction over 8 provinces.

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.